บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Music of Indonesia






ดนตรีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย

          อินโดนีเซีย เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดของโลก วัฒนธรรมมาจากการผสมผสานอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศาสนาอิสลามจากตะวันออกกลางเเละศาสนาคริสต์จากยุโรป ในขณะที่ผู้คนตามเกาะต่างๆ ยังคงยึดถือขนบธรรมเนียม ความเชื่อ เเละวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนอยู่        
         
          อินโดนีเซียได้รับอิทธิพลเครื่องดนตรีสำริดจากวัฒนธรรมดองซอนของเวียดนาม ซึ่งนอกจากมโหระทึกเเล้วก็มีการสร้างฆ้อง แผ่นตีสำริดขนาดต่างๆ สำหรับใช้เป็นเครื่องตีรวมทั้งมีการสร้างเครื่องดรตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด เเละสามารถนำมาประสมวงเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ได้ เรียกว่า "วงกัมเมลัน"หมายถึง การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเป็นหลัก ทั้งเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะ เเละที่ทำด้วยไม้ บทบาทของวงกัมเมลันจะใช้ในการระกอบพิธีกรรม การแสดงละครและกิจกรรมรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ
         
          สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีอินโดนีเซียกับดนตรีไทย ปรากฏมาตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยไทยได้นำเอาปี่ฉวา กลองแขก มาบรรเลงในการรำอาวุธในขบวนแห่พยุหยาตรา มีการนำวรรณกรรมของชวามาแต่งเป็นบทละครเรื่องอิเหนาและดาหลัง สำหรับใช้แสดงละครใน มีการนำกลองแขกของชวามาตีเข้ากับปี่ชวา และในสมัยรัตนโกสินทร์ หลวงประดิษฐไพเราะ ยังได้นำเครื่องดนตรีอังกะลุงเข้ามาในไทย และมีการแต่งเพลงไทยให้มีสำเนียงชวา สำหรับใช้ในการบรรเลงอังกะลุงด้วย เครื่องดนตรีของอินโดนีเซียที่ควรรู้จักเช่น


รือบับ
          


          รือบับ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้คันชักอิสระ โดยทั่วไปมี 2 สาย บางถิ่นมี 3 สาย รูปร่างของรือบับคล้ายกับซอสามสายของไทย ใช้บรรเลงเดี่ยวเเละบรรเลงประกอบการขับร้องทั้งในวงกัมเมลัน เเละในวงดนตรีของชาวบ้านทั่วไป


          ซารอน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีแผ่นโลหะจำนวน 5-7 อัน ลักษณะคล้ายกับแผ่นระนาดเหล็กของไทย ตั้งเรียงโดยมีหลักโลหะปักหัว-ท้าย มีรางทำด้วยไม้เพื่อเป็นกล่องเสียง ใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเขาควาย

          ซูลิง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายกับขลุ่ย มีหลายขนาดซูลินมีเสียงไพเราะ ใช้ประสมในวงกัมเมลัน บรรเลงประกอบการขับร้อง เเละในกิจกรรมต่างๆ

          เซรูไน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่มีลิ้นคู่ มีกำพวดสำหรับเสียบเข้ากับเลาของเซรูไน ที่เลามีรูเปิด-ปิดเสียง ส่วนปลายเป็นปากลำโพงมีทั้งที่ทำด้วยไม้เเละโลหะ มีหลายขนาด ใช้ประสมในวงฆ้องกลอง บรรเลงประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดงสีละ ซึ่งเป็นการแสดงต่อสู้ป้องกันตัว  


เเหล่งอ้างอิง
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน  ดนตรี-นาฏศิลป์ ม.2 

ไม่มีความคิดเห็น: